เมนู

แล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ในโลก ดังนี้ บุคคลนั้นย่อมไม่กระเสือก
กระสนด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ กายกรรมของเขาตรง วจีกรรมของ
เขาก็ตรง มโนกรรมของเขาก็ตรง คติของเขาก็ตรง การอุบัติของเขาก็
ตรง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวคติ 2 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ของบุคคลผู้มีคติตรง ผู้มีการอุบัติตรง คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุขโดยส่วน
เดียว หรือสกุลที่สูง ๆ คือสกุลกษัตริย์มหาศาล สกุลพราหมณ์มหาศาล
หรือสกุลคฤหบดีหาศาลอันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีเงินทอง
มาก มีเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจมาก การอุบัติของสัตว์ย่อมมี
เพราะกรรมอันมีแล้วด้วยประการดังนี้แล คือ เขาย่อมอุบัติด้วยกรรมที่
ตนทำไว้ ผัสสะอันเป็นวิบากทั้งหลายย่อมถูกต้องเขาผู้อุบัติแล้ว ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรม ด้วย
ประการฉะนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน เป็น
ผู้รับผลของกรรม เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มี
กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมอันใดไว้ เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม
ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันเป็น
เหตุแห่งความกระเสือกกระสนเป็นดังนี้แล.
จบธรรมปริยายสูตรที่ 5

อรรถกถาธรรมปริยายสูตรที่1 6


สูตรที่ 6

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สํสปฺปติปริยายํ โว ภิกฺขเว ธมฺมปริยายํ ได้แก่ การ

1. อรรถกถาแก้ข้อ 193 อันเป็นสูตรที่ 5 แต่อรรถกถาเป็นสูตรที่ 6.

แสดงธรรม กล่าวคือการแสดงเหตุแห่งความกระเสือกกระสน. บทว่า
สํสปฺปติ ความว่า สัตว์กระทำกรรมนั้น ย่อมเสือกไป ไถไป แถกไป.
บทว่า ชิมฺหา คติ ความว่า สัตว์จักไปสู่คติใดด้วยกรรมนั้น คตินั้น
ย่อมชื่อว่า คด. บทว่า ชิมฺหุปปตฺติ ความว่า สัตว์จักเข้าถึงคติใด แม้คติ
ของเขานั้นก็คดเหมือนกัน. บทว่า สํสปฺปชาติกา ได้แก่ มีการเลื้อยไป
เป็นสภาพ. บทว่า ภูตา ภูตสฺส อุปปตฺติ โหติ ความว่า ความบังเกิด
ของสัตว์ ย่อมมีเพราะกรรมที่มีอยู่แล้ว คือเพราะกรรมที่มีอยู่โดยสภาพ.
บทว่า ผสฺสา ผุสนฺติ ได้แก่ ผัสสะที่เป็นวิบาก ย่อมถูกต้อง.
จบอรรถกถาธรรมปริยายสูตรที่ 6

6. ปฐมกรรมสูตร1


ว่าด้วยความสุดสิ้นแห่งกรรม


[194] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้น
สุดแห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล อันสัตว์ผู้ทำพึง
ได้เสวยในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมเวทนียะ) ในอัตภาพถัดไป (อุปปัชช-
เวทนียะ) หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไป (อปราปรเวทนียะ) ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจ
กระทำสั่งสมขึ้น ในข้อนั้น ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย
3 อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา 4 อย่าง มีความตั้งใจเป็น
อกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษ

1. อรรถกถาเป็นสูตรที่ 7.